ในสังคมไทยปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตในทุกๆ ด้าน รวมถึงการศึกษา เทคโนโลยี “คอมพิวเตอร์” จึงมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้ การนำ “คอมพิวเตอร์” เข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ ในรูปแบบการบูรณาการ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ และเพิ่ม ศักยภาพในการสร้างสรรค์อย่างไม่สิ้นสุดของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549 สถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีคอมพิวตอร์เพื่อใช้ในการศึกษา ประมาณ 100,000 เครื่องเท่านั้นทั่วประเทศไทย หรือคิดเป็นสัดส่วน “คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ต่อ นักเรียน60 คน” "โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง” มูลนิธิกระจกเงา ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าอันมหาศาลในการศึกษาที่เกิดขึ้นจาก “คอมพิวเตอร์” และ ในการทำงานของโครงการที่ผ่านมา ทำให้ทราบถึงการขาดแคลน “คอมพิวเตอร์” เทคโนโลยีในการเรียนรู้นั้น กลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดแคลนของบางโรงเรียนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)และทางภาคเหนือ
 กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2551 สถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการศึกษา ประมาณ 200,000 เครื่องเท่านั้น ทั่วประเทศไทย หรือคิดเป็นสัดส่วน “คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ต่อ นักเรียน40 คน” “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง” มูลนิธิกระจกเงา ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าอันมหาศาลในการศึกษาที่เกิดขึ้น จาก “คอมพิวเตอร์” และในการทำงานของโครงการที่ผ่านมา ทำให้ทราบถึงการขาดแคลน “คอมพิวเตอร์” เทคโนโลยีในการเรียนรู้นั้น กลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดแคลนของบางโรงเรียนทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)และทางภาคเหนือ ข้อเท็จจริงนี้ทำให้คุณภาพในการศึกษาของพวกเขาลดลง รวมถึงการปิดกั้นความรู้ และโลกทัศน์ที่ไม่สิ้นสุด
จึงทำการรับบริจาคคอมพิวเตอร์เก่า จากบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หรือใช้งานไม่ได้แล้ว มาดัดแปลงปรับปรุง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ตามความเหมาะสมในการศึกษาเบื้องต้น และนำส่งคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สู่มือน้องๆในโรงเรียนที่ ขาดแคลน เพื่อให้พวกเขาได้มีความรู้ที่ไม่สิ้นสุด พร้อมกับสร้างโลกทัศน์ใหม่ๆ ในพวกเขา